น้ำอัดลม เครื่องดื่มดื่มง่ายแต่สร้างโรค!!

ในฤดูร้อน ที่มีอากาศร้อนจนเหงื่อไหลเป็นสาย จนคนที่อยู่บ้านแทบไม่อยากจะขยับตัวไปไหนและคนทำงานก็แทบไม่อยากออกจากออฟฟิศกันเลยทีเดียว ซึ่งในอากาศแบบนี้ก็มีหลายวิธีที่จะช่วยดับร้อนและหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ การดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำหวานต่างๆ ซึ่งเราก็รู้กันดีว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมนั้นเป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยน้ำตาลปริมาณมากที่อยู่ในเครื่องดื่มประเภทนี้นั้นล้วนให้แต่พลังงานแต่ไม่มีสารอาหารอะไรเลย
เคยสงสัยรึเปล่าครับว่าทั้งๆที่น้ำอัดลมก็เป็นแค่น้ำหวานอัดแก๊สแต่ทำไมถึงกล่าวว่าน้ำอัดลมนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากสงสัยวันนี้เรามีคำตอบครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอ 4 เรื่องที่น่ากลัวของน้ำอัดลมกัน

  • น้ำหวานที่นำมาอัดลม หรือน้ำอัดลมนั้น มีส่วนผสมของสีและรสชาติเทียมที่มาจากสารเคมี เมื่อบริโภคต่อเนื่องกันเป็นปริมาณมากก็สามารถทำให้ก่อพิษในร่างกายได้
  • ในน้ำอัดลมนั้นนอกจากน้ำตาลแล้วยังมีคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาททำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว และลดความง่วงลง โดยออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้จังหวะและอัตราการเต้นของหัวอาจผิดปกติได้
  • น้ำอัดลมทุกยี่ห้อและทุกแบบนั้นล้วนแต่ผสมน้ำตาลที่มีปริมาณสูงตั้งแต่ 8-14 ช้อนชา ซึ่งการบริโภคน้ำอัดลมเพียงวันละ 1 กระป๋องนั้นอาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลเกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับได้เลยทีเดียว
  • น้ำอัดลมนั้นมีส่วนผสมของกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นกรดที่ทำให้เกิดความซ่าอีกชนิดหนึ่ง โดยกรดนี้นั้นเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในผงซักฟอก รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมโลหะด้วย ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมาก มากถึงขนาดที่สามารถกัดตะปูให้ละลายได้ภายใน 4 วัน ยิ่งไปกว่านั้นยังดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและฟัน เพราะฉะนั้นยิ่งเราดื่มน้ำอัดลมไปเยอะเท่าไหร่ กระดูกเราก็ยิ่งโดนชิงแคลเซียมจนสักวันเราอาจจะกระดูกพรุนได้เลยทีเดียว!!
  • ล่าสุดประเทศไทยได้มีการนำเสนอให้จัดเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินมาตรฐานที่กำหนด โดยเสนอให้จัดเก็บภาษี 2 อัตรา ตามความเข้มข้นของน้ำตาลคือ ปริมาณน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัม ถึง 100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายปลีก และปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม ถึง 100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 25% ของราคาขายปลีก และแน่นอนว่าจุดประสงค์ของการขึ้นภาษี เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานลง ก็อาจจะเป็นส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีการเสนอให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการทำการตลาดแบบเสี่ยงโชคของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพื่อควบคุมการกระตุ้นการบริโภคควบคู่ไปด้วย